Thursday, March 6, 2014

ความหมายของฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์และชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ และสามารถจับต้องได้ ตั

ฮาร์ดแวร์มีกี่ประเภท
มี 2 ประเภท ได้แก่ 1.อุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบภายนอก ได้แก่ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (เช่น คียบอร์ด เมาส์) อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์) ตัวถัง (case) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (cd, dvd, sd-card)2.อุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบภายใน ได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ เมนบอร์ดวอย่างเช่น ซีพียู เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ ลำโพง แผงเมนบอร์ดฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม เป็นต้น


หน่วยประมวลผลกลาง 
หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นหน่วยที่เปรียบเสมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นหน่วยที่มีความซับซ้อนที่สุด ส่วนประกอบต่าง ๆในหน่วยประมวลผลกลางเป็นตัวกำหนดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กลงในขณะที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น



หน่วยความจำหลัก 
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary Storage)

หน่วยรับข้อมูล 
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย


หน่วยแสดงผล
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์


หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
ก่อนที่จะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลได้อย่างไร จะต้องทราบก่อนว่าสื่อสำหรับเก็บข้อมูลนั้นมีอะไรบ้าง เนื่องจากคอมพิวเตอร์แปลงคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปของเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ทั้งสิ้น โดยที่ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยกลุ่มของเลขฐานสอง และเนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็จะหายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวรไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผู้ใช้เป็นผู้สั่ง รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้และที่สำคัญหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหน่วยความจำหลัก คอมพิวเตอร์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ ได้ แต่ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าแรมมาก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อนจึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง


 Motherboard (เมนบอร์ด) คือ แผงวงจรศูนย์กลางของระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อนหรือเป็นที่รู้จักกันว่า เมนบอร์ด (main board) บอร์ดตรรกะ (logic board) หรือบอร์ดระบบ (system board)


     - Central processing Unit (หน่วยประมวลผลกลาง) คือ CPU ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลที่ตีความคำสั่งและประมวลผลข้อมูลในโปรแกรมคอมพิวเตอร์


     - Random Access Memory (RAM) ช่วยให้ข้อมูลที่เก็บไว้สามารถเข้าถึงได้ในลำดับใด ๆ  RAM ถือเป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่เป็นพื้นที่สำหรับการทำงานเพื่อใช้แสดงและจัดการข้อมูล


     - Basic Input Output System (BIOS) ไบออสจะเตรียมความพร้อมโปรแกรมเพื่อที่จะโหลด ดำเนินการ (execute) และควบคุมคอมพิวเตอร์


     - Power Supply (แหล่งจ่ายไฟฟ้า) จะจ่ายไฟฟ้าไปยังส่วนต่างๆ ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้า


     - Computer Bus (บัส) ถูกใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลหรือไฟฟ้าระหว่างส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน


     - CD-ROM drive (ไดรฟ์ซีดีรอม) มันจะบรรจุข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยคอมพิวเตอร์


     - Floppy disk (ฟลอปปี้ดิสก์) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล


     - Zip Drive (ซิปไดรฟ์) เป็นตัวเก็บความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลดิสก์ที่สามารถถอดออกได้

สมชิกในกลุ่ม 

นาย อภิสิทธิ์ ลาเต๊ะ
นาย ธัชชัย ขุนพิทักษ์
นาย ตันตระการ โปจีน
นางสาวสุธิดา หวันยาวา
นางสาวชุติมา ปานแก้ว